RSS

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

29 ต.ค.

5.

ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงติดอันดับต้น  ๆ ของประเทศไทย และเป็นปราสาทหินที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดบุรีรัมย์ ในเรื่องของความงดงามทางสถาปัตยกรรม ปราสาทหินพนมรุ้ง หากแปลตามภาษาของเขมร  “พนมรุ้ง หรือ วนํรุง” หมายถึง ภูเขาใหญ่ ซึ่งตรงกับสถานที่ตั้งของตัวปราสาทหินพนมรุ้งที่ตั้งอยู่บนยอดของภูเขาไฟที่ดับแล้ว จากลักษณะสถาปัตยกรรมของโบราณสถานเชื่อว่าปราสาทหินพนมรุ้งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และได้รับการเปลี่ยนเป็นศาสนสถานทางพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

5.1

5.2

ปราสาทหินพนมรุ้ง  เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีอายุการก่อสร้างและใช้เป็นเทวสถาน ต่อเนื่องกันมา หลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 17 จนถึงพุทธ ศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมหันมานับถือศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้ จึงคงจะได้รับการดัดแปลงเป็นพุทธศาสนาลัทธิมหายานในช่วงนั้น

5.3

5.4

ตัวโบราณสถาน ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟ ที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตร จากพื้นราบ คำว่า “พนมรุ้ง” หรือ “วนํรุง” เป็นภาษาเขมรแปลว่า “ภูเขาใหญ่” ปราสาทพนมรุ้งหันไปทางทิศตะวันออก ประกอบ ด้วยอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ตั้งเรียง รายขึ้นไปจากลาดเขาทางขึ้นจนถึงปรางค์ประธาน บนยอดอัน เปรียบเสมือนวิมานที่ประทับของพระศิวะ บันไดทางขึ้นช่วงแรกทำเป็นตระพังสามชั้น ผ่านขึ้นมาสู่ พลับพลาชั้นแรก จากนั้นเป็นทางเดินซึ่งมีเสานาง เรียงปักอยู่ที่ขอบทางทั้งสองข้าง เป็นระยะๆ ถนนทางเดิน นี้ ทอดไปสู่สะพานนาคราช ซึ่งเปรียบเสมือนจุด เชื่อมต่อระหว่างดินแดน แห่งมนุษย์และสรวงสวรรค์ ด้าน ข้างของทางเดินทางทิศเหนือมีพลับพลาสร้าง ด้วยศิลาแลง 1 หลัง เรียกกันว่า โรงช้างเผือก สุดสะพาน นาคราชเป็นบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งทำเป็น ชานพักเป็นระยะๆ รวม 5 ชั้น สุดบันไดเป็นชานชลา โล่งกว้าง ซึ่งมีทางนำไปสู่สะพานนาคราชหน้า ประตูกลางของระเบียงคด อันเป็นเส้นทางหลักที่จะผ่านเข้า สู่ลานชั้นในของปราสาท และจากประตูนี้ยังมี สะพานนาคราชรับอยู่อีกช่วงหนึ่งก่อนถึงปรางค์ประธาน

5.5

5.6

5.7

ปรางค์ประธาน หรือส่วนที่สำคัญที่สุด ตั้งอยู่ตรง ศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป คือห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เชื่อมอยู่ทางด้านหน้าที่ส่วนประกอบของปรางค์ประธานตั้งแต่ฐานผนังด้านบนและด้านล่าง เสากรอบประตู เสาติดผนัง ทับหลัง หน้าบัน ซุ้มชั้นต่างๆ ตลอดจนกลีบขนุนปรางค์ล้วนสลักลวดลายประดับทั้งลวดลายดอกไม้ ใบไม้ ภาพฤาษี เทพประจำทิศ ศิวะ นาฏราช ที่ทับหลังและหน้าบันด้านหน้าปรางค์ประธาน ลักษณะของลวดลายและ รายละเอียดอื่นๆ ช่วยให้ กำหนดได้ว่าปรางค์ประธานพร้อมด้วยบันไดทางขึ้นและ สะพานนาคราช สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17

5.8

5.9

5.10

5.11

ภายในลานชั้นในด้านตะวันตกเฉียงใต้ มีปรางค์ขนาดเล็ก 1 องค์ ไม่มีหลังคา จากหลักฐานทาง ศิลปกรรมที่ปรากฏ เช่น ภาพสลักที่หน้าบันทับหลัง บอกให้ทราบได้ว่าปรางค์องค์นี้สร้างขึ้น ก่อนปรางค์ประธาน มีอายุ ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 นอกจากนี้ยังมีฐานปรางค์ก่อด้วยอิฐซึ่งมีอายุเก่าลงไปอีก คือประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 อยู่ด้าน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์ประธานและที่มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกันกับพลับพลา ที่สร้างด้วยศิลาแลง ข้างทางเดินที่เรียกว่า “โรงช้างเผือก”

5.12

5.13

5.14

กรมศิลปากรได้ทำการซ่อมแซมและบูรณะปราสาทหินพนมรุ้ง โดยวิธีอนัสติโลซิส คือ รื้อของเดิมลง มาโดย ทำรหัสไว้จากนั้นทำฐานใหม่ให้แข็งแรง แล้วนำชิ้นส่วนที่รื้อรวมทั้งที่พังลงมากลับไปก่อใหม่ ที่เดิม โดยใช้วิธีการสมัยใหม่ช่วย และเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ปีพุทธศักราชที่ 2531 ได้มีพิธีเปิดอุทยาน ประวัติศาสตร์พนมรุ้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 โดยสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนิน เป็นองค์ประธาน และปลายปีเดียวกัน ก็ได้รับทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์กลับคืนมาจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้มีความงดงามและ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

5.16

5.17

5.18

งานเทศกาลที่สำคัญประจำปีของปราสาทหินเขาพนมรุ้ง

งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งจังหวัดบุรีรัมย์ จะจัดขึ้นทุกปีในช่วงวันที่ วันที่ 3 – 5 เมษายน โดยสถานที่จัดงาน: ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภายในงานจะมีกิจกรรมสำคัญโดดเด่น ที่จัดให้มีขึ้นภายในงาน เช่นการชมแสงอาทิตย์ส่องลอด 15 ประตูของปราสาทพนมรุ้ง(ดวงอาทิตย์ขึ้น วันที่ 3 – 4 – 5 เมษายน เวลา 06.00 น.) , พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่องค์พระศิวะ เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย , ชมริ้วขบวนหลวงของพระนางภูปตินทรลักษมีเทวี และ นางจริยา นำเครื่องบวงสรวงประกอบด้วย เทพพาหนะทั้ง 10 นางสนมกำนัล เหล่าทหาร ข้าทาสบริวาร ดำเนินผ่านเสานางเรียงประดับด้วยโคมไฟและธงทิวยิ่งใหญ่อลังการ

– การแสดง แสง เสียง ชุด “งานรมยคีรีราตรีแห่งวนัมรุง”
– การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านรับประทานอาหารแบบโฮปบายดินเนอร์
– การแสดงตลาดนัดโบราณและสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนของจังหวัดบุรีรัมย์
– พร้อมทั้งกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายตลอดการจัดงาน

5.19

5.20

การเดินทางสู่ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง : จาก อ.นางรอง ใช้ทางหลวงหมายเลข 24 ขับไปทางจังหวัดสุรินทร์ประมาณ 14 กิโลเมตร พอถึงสามแยกไฟแดงบ้านตะโก จากนั้นมีทางแยกขวามือเป็นถนนลาดยางเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2117 ขับไปอีก 6 กิโลเมตรไปจนถึงบ้านตาเป๊กจะพบสามแยกให้เลียวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2221 ขับไปอีก 6 กิโลเมตร ขึ้นสู่ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง

 

แผนที่ : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

ที่มา : http://place.thai-tour.com/

 

 

 

 

ใส่ความเห็น