RSS

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

29 ต.ค.

8

พระนครศรีอยุธยา 417 ปีแห่งการเป็นราชธานีเก่าแก่ของสยามประเทศ ประกอบด้วย 5 ราชวงศ์คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททองและราชวงศ์บ้านพลูหลวง  มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 33 พระองค์ โดยมีปฐมกษัตริย์คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) พระนครศรีอยุธยาจึงนับเป็นราชธานีที่มีอายุยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติไทย  ตลอดระยะเวลา 417 ปีที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแห่งราชอาณาจักรไทย มิได้เป็นเพียงช่วงแห่งความเจริญสูงสุดของชนชาติไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างสรรค์อารยธรรมของหมู่มวลมนุษยชาติซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่นานาอารยประเทศอีกด้วย

8.1

8.3

8.2

แม้ว่ากรุงศรีอยุธยาจะถูกทำลายเสียหายจากสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านหรือจากการบุกรุกขุดค้นของพวกเรากันเอง แต่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันนี้ยังมีร่องรอยหลักฐานซึ่งแสดงอัจฉริยภาพและความสามารถอันยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษแห่งราชอาณาจักรผู้อุทิศตนสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม และความมั่งคั่งไว้ให้แก่ผืนแผ่นดินไทย หรือแม้แต่ชาวโลกทั้งมวล 8.4

8.5

8.6

จึงเป็นที่น่ายินดีว่าองค์การ ยูเนสโก้ โดยคณะกรรมการมรดกโลกได้มีมติรับนครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และเป็นพื้นที่ที่ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2519 ไว้ในบัญชี มรดกโลก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 ณ กรุงคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย-อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยจะมีผลให้ได้รับความคุ้มครองตามอนุสัญญาที่ประเทศต่างๆได้ทำร่วมกัน จึงสมควรที่อนุชนรุ่นหลังจะได้ไปศึกษาเยี่ยมชมเมืองหลวงเก่าแห่งนี้

สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาส่วนใหญ่เป็นโบราณสถาน

พระราชวังโบราณ  หรือพระราชวังหลวง เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ และเป็นทั้งศูนย์กลางด้านการเมืองและการปกครองในเวลาเดียวกัน เมื่อแรกสร้างกรุงศรีอยุธยานั้นสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง (พ.ศ. ๑๘๙๓-๑๙๑๒) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้นในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งวัดพระศรีสรรเพชญ์

8.7

8.8

วัดพระศรีสรรเพชญ์ เดิมเป็นพระราชวังที่ประทับซึ่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้น ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. ๑๙๙๑ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระราชวังไปสร้างใหม่ทางด้านริมแม่น้ำลพบุรี และอุทิศพระราชวังให้เป็นวัดสำหรับประกอบพิธีต่าง ๆ

SONY DSC

8.10

วัดราชบูรณะ เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. ๑๙๖๗ ในบริเวณที่ถวายพระเพลิงศพเจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยา พระเชษฐาทั้งสองของพระองค์ ซึ่งสิ้นพระชนม์ลงเนื่องจากการรบแย่งชิงราชสมบัติ

8.11

8.12

วิหารพระมงคลบพิตร พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปบุทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น เมื่อพ.ศ. ๒๔๙๙ จอมพลป.พิบูลสงครามได้บูรณะวิหารพระมงคลบพิตรใหม่ทั้งหมดดังที่ปรากฏในปัจจุบัน

8.13

8.14

วัดพระราม

8.15

8.16

เจดีย์พระศรีสุริโยทัย

8.17

8.18

การเดินทาง
เส้นทางแรก
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน)ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๒ แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๙ เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเส้นทาง

ที่สอง  ใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๐๔ (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข ๓๐๒ (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๐๖ (ถนนติวานนท์)ข้ามสะพานนนทุรี หรือสะพานนวลฉวี ไปยังจังหวัดปทุมธานี ต่อด้วยเส้นทางปทุมธานีสามโคก-เสนา (ทางหลวงหมายเลข ๓๑๑๑) แล้วแยกขวาที่อำเภอเสนาเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๒๖๓ เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุ

เส้นทางที่สาม ใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๐๖ เส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปทุมธานี ถึงทางแยกสะพานปทุมธานี เลี้ยวซ้ายสู่ทางหลวงหมายเลข ๓๓๐๙ ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางปะอิน  เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๘.๐๐ นาฬิกา อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๔๐ บาท

แผนที่ : อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา

8.19

ที่มา : http://travel.kapook.com

 

 

ใส่ความเห็น